โครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย

โครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้ และทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2568 
(ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการหากธนาคารให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว) 

วัตถุประสงค์การยื่นกู้

  1. เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และภาระหนี้ที่ผ่อนชำระกับ ธอส. ตามสัญญาที่ทำไว้ก่อนวันที่กำหนดเริ่มโครงการ ทุกวัตถุประสงค์การกู้ในหลักประกันประเภทที่อยู่อาศัย ยกเว้นวัตถุประสงค์การกู้เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA)
  2. เพื่อซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหายที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองและ/หรือคู่สมรส
  3. เพื่อปลูกสร้างอาคารทดแทนอาคารเดิมที่ได้รับความเสียหายที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองและ/หรือคู่สมรส
  4. เพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย
  5. เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) พร้อมกับการขอกู้ในวัตถุประสงค์หลัก

หมายเหตุ : นิยามคำว่า “ที่อยู่อาศัย” หมายถึง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย และห้องชุดเฉพาะชั้น 1 ที่อยู่ในระดับพื้นดินน้ำท่วมถึง
 

วงเงิน / ระยะเวลากู้

วงเงิน

  • กรณีกู้เพิ่มหรือกู้ใหม่ วงเงินให้สูงสุดไม่เกิน  2,000,000 บาท ต่อรายต่อหลักประกัน
  • กรณีขอกู้มากกว่า 2,000,000 บาท ส่วนที่เกินสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยโครงการอื่นได้

ระยะเวลากู้ 

  • ไม่น้อยกว่า 3 ปี และไม่เกิน 40 ปี อายุผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ยกเว้นข้าราชการตุลาการ อัยการ หรืออื่น ๆ ที่มีอายุเกษียณมากกว่า 60 ปี ให้ใช้อายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 75 ปี

อัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม

อัตราดอกเบี้ย

1. กรณีลูกหนี้เดิมของ ธอส. ขอลดเงินงวดและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในหลักประกันที่ได้รับผลกระทบ

    ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลา 1 ปี ดังนี้

ปี อัตราดอกเบี้ย
เดือนที่ 1 - 3 = 0% ต่อปี (เงินงวดผ่อนชำระ 0 บาท)
เดือนที่ 4 - 12 = 2.00% ต่อปี (ลดเงินงวดลง 50% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน)

   ทั้งนี้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลารับสิทธิส่วนลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ให้กลับไปใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามผลิตภัณฑ์ / โครงการเดิมที่ลูกค้าเลือกใช้ โดยลูกค้าจะไม่ได้รับสิทธิอัตราดอกเบี้ยพิเศษตามผลิตภัณฑ์ / โครงการเดิมที่ลูกค้าเลือกใช้ในช่วง 1 ปีที่เข้าร่วม “โครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย”

2.  กรณีกู้เพิ่มหรือกู้ใหม่ เพื่อปลูกสร้างอาคารทดแทนอาคารเดิม หรือกู้ซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย / กู้ซื้ออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกฯ / กู้ชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนี้

ปี อัตราดอกเบี้ย
ปีที่ 1 - 2    
- เดือนที่ 1 - 3  = 0% ต่อปี (เงินงวดผ่อนชำระ 0 บาท)
- เดือนที่ 4 - 24 = 2.00% ต่อปี 
ปีที่ 3  = MRR-3.30% ต่อปี
ปีที่ 4   = MRR-2.40% ต่อปี 
ปีที่ 5 จนถึงตลอดอายุสัญญา
- กรณีลูกค้าสวัสดิการ  = MRR-1.00% ต่อปี
- กรณีลูกค้ารายย่อย   = MRR-0.50% ต่อปี
- กรณีกู้ซื้ออุปกรณ์ฯ = MRR

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (EIR)

- กรณีลูกค้าสวัสดิการ      =    4.309% 
- กรณีลูกค้ารายย่อย        =    4.573%
- กรณีซื้ออุปกรณ์ฯ          =    4.854% 

หมายเหตุ :

  1. MRR ตามประกาศธนาคาร
  2. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (Effective Interest Rate: EIR) 
    อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ระบุเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย โดยคำนวณจากสมมติฐานวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 20 ปี ผ่อนชำระตามเงินงวดของผลิตภัณฑ์

ค่าธรรมเนียม

ผู้กู้ได้รับสิทธิฟรีค่าธรรมเนียม จำนวน 3 รายการ  ดังนี้

  1. ค่าประเมินราคาหลักประกัน (1,900 - 2,800 บาท)
  2. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการจำนอง (1% ของวงเงินจำนอง)
  3. ค่าตรวจสอบหลักประกันที่ได้รับความเสียหาย (1,000 บาท)
     

คุณสมบัติ / เอกสารที่ใช้สมัคร

คุณสมบัติผู้กู้

  • เป็นลูกค้าเดิมของ ธอส. หรือลูกค้าใหม่ ซึ่งที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง และ/หรือคู่สมรส ได้รับความเสียหาย/ผลกระทบจากสาธารณภัยอย่างรุนแรง ไม่เกิน 12 เดือนนับจากวันที่ได้มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยตามข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

เอกสาร

เอกสารส่วนบุคคล

  • บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ
  • ทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี) 

เอกสารทางการเงิน

พนักงานประจำ

  • หนังสือรับรองเงินเดือน
  • สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน

ผู้ประกอบอาชีพอิสระ

  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน / หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง)
  • สำเนาทะเบียนการค้า / ทะเบียนบริษัท / ห้างหุ้นส่วนฯ
  • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
  • รูปถ่ายกิจการ
  • สำเนาใบประกอบวิชาชีพ

เอกสารหลักประกัน

  • ภาพถ่ายหลักประกันที่ได้รับความเสียหาย
  • รายการซ่อมแซมรวมถึงการต่อเติมอาคาร (ถ้ามี) ที่ได้รับความเสียหายจากการประสบภัยในครั้งนี้ พร้อมประมาณการค่าซ่อมแซม/ต่อเติม ตามรายการที่ลูกหนี้แจ้ง
  • หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร
  • สำเนาโฉนดที่ดิน / น.ส.3ก. / หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า (แล้วแต่กรณี)
  • ใบอนุญาตปลูกสร้าง / ต่อเติม
  • แบบแปลน  
  • ใบประมาณการปลูกสร้าง / สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
  • อื่นๆ (ถ้ามี)

หมายเหตุ **  ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการขอเอกสารต่าง ๆ ของผู้กู้เพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบพิจารณาการให้สินเชื่อของธนาคาร **
 

 

คำถามที่พบบ่อย

1. ต้องการกู้เงินไปซ่อมแซมบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม สามารถใช้สินเชื่อโครงการนี้ได้หรือไม่    
- ได้ โดยหลักประกันต้องอยู่ในเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยตามข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

2. หากบ้านได้รับความเสียหายจากพายุลมแรง หรือดินโคลนถล่ม สามารถใช้สินเชื่อโครงการนี้ได้หรือไม่    
- ได้ โดยหลักประกันต้องอยู่ในเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยตามข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

3. สามารถมายื่นขอสินเชื่อ “โครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย” ภายในระยะเวลาเท่าใดนับจากวันที่ได้รับผลกรกะทบ    
- ไม่เกิน 12 เดือน นับจากวันที่ได้มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยตามข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้ และกำหนดระยะเวลาอนุมัติและทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2568

4. หากอยู่ระหว่างการประนอมหนี้ สามารถขอใช้สิทธิลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และภาระหนี้ที่ผ่อนชำระกับ ธอส. ตามโครงการนี้ได้หรือไม่    
- ไม่ได้

5. หากต้องการขอกู้เพิ่มเพื่อปลูกสร้างอาคารทดแทนอาคารเดิม หรือกู้ซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย วงเงินให้กู้สูงสุดเท่าใด    
- วงเงินให้กู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2 ล้านบาท ส่วนที่เกินสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยโครงการอื่นได้ 

6. กรณีลูกค้าเดิมขอลดเงินงวดลง 50% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลา 1 ปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 1 ปีแล้ว จะใช้อัตราดอกเบี้ยใด    
- กลับไปใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามผลิตภัณฑ์/โครงการเดิมที่ลูกค้าเลือกใช้ ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ที่อยู่ระหว่างขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และลดเงินงวด ลูกค้าจะไม่ได้รับสิทธิ์อัตราดอกเบี้ยโครงการตามผลิตภัณฑ์/โครงการเดิมที่ลูกค้าเลือกใช้

7. ลูกค้าที่เข้าร่วม “โครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย” เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และลดภาระหนี้ผ่อนชำระ หากมีการผิดนัดชำระหนี้จะถูกปรับพ้นจากโครงการหรือไม่    
- กรณีผิดนัดชำระหนี้เป็นจำนวนเท่ากับ 2 งวด ธนาคารจะปรับพ้นสิทธิจากโครงการ ยกเว้นช่วงอัตราดอกเบี้ย 3 เดือนแรก