2023
เหตุการณ์ที่ 88 : รางวัลระดับโลกที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้รับ
เหตุการณ์ที่ 88 : รางวัลระดับโลกที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้รับ

– รางวัล Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2022 สาขา Corporate Sustainability Reporting จาก Enterprise Asia
– รางวัล Asia Pacific Enterprise Awards (APEA) 2022 ในสาขา Corporate Excellence Category – องค์กรยอดเยี่ยมในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน จาก Enterprise Asia
– รางวัล Asian Banking and Finance Retail Banking Awards 2023 สาขา Mortgage and Home Loan Product of the Year จาก Asian Banking and Finance (ABF)

เหตุการณ์ที่ 87 : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รับ 7 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2565

สะท้อนประสิทธิภาพในการดำเนินงานของคณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และผู้ปฏิบัติงานของ ธอส. มากกว่า 5 พันชีวิต ที่มุ่งมั่นในการดำเนินงานตามพันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” การพัฒนาการให้บริการด้านดิจิทัล รวมทั้งการปรับปรุงกระบวนการให้บริการลูกค้าแบบ End to End Process หรือการให้บริการลูกค้าตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายผ่านระบบดิจิทัล ที่ช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวก รวดเร็ว และลดต้นทุนการดำเนินงานของธนาคารไปพร้อม ๆ กัน จนส่งผลให้ธนาคารประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ

เหตุการณ์ที่ 86 : ธนาคารดูแลสังคมผ่านโครงการ CSR

– ส่งมอบรถรับ-ส่งนักเรียนในความอุปถัมภ์ของวัดห้วยปลากั้ง ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
– สนับสนุนงบประมาณสู้ภัย COVID-19 แก่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติสำหรับจัดสร้างหอผู้ป่วยไอซียูความดันลบแบบห้องแยกที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยวิกฤตที่มีอาการรุนแรง
– ส่งมอบที่อยู่อาศัย โครงการสร้าง/ซ่อม ที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ประจำปี 2566 ณ ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา

เหตุการณ์ที่ 85 : ยกระดับการบริการด้านดิจิทัลของธนาคาร
เหตุการณ์ที่ 85 : ยกระดับการบริการด้านดิจิทัลของธนาคาร

– ยกระดับจาก Mobile Application GHB ALL เป็น Application GHB ALL GEN เพิ่มฟังก์ชันการให้บริการแบบครบวงจร
– ตอบสนองความต้องการลูกค้าที่ต้องการประนอมหนี้ ผ่าน Mobile Application GHB ALL Be Friend
– ครบเครื่องเรื่องบ้านมือสอง ธอส. กับ Mobile Application : GHB ALL HOME
– ช่องทางการบริการใหม่ ที่ทำให้ไม่พลาดความเคลื่อนไหวทางบัญชี กับ Application Line: GHB Buddy

เหตุการณ์ที่ 84 : ธอส. ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ช่วยเหลือคนไทยมีที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น
เหตุการณ์ที่ 84 : ธอส. ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ช่วยเหลือคนไทยมีที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น

– สานต่อโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง) ระยะที่ 2-3
– เป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน จ.ชลบุรี
– โครงการเงินกู้ที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปี 2564-2565

2022
เหตุการณ์ที่ 83 : ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก ตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
เหตุการณ์ที่ 83 : ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก ตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวม 0.75% ต่อปีในปี 2565 โดย ณ สิ้นปี 2565 อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.25% ต่อปี แต่ ธอส. ประกาศปรับขึ้นเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ถึงสิ้นเดือนมกราคม 2566 เพื่อให้ลูกค้าเงินกู้ของธนาคารมีเวลาปรับตัวรับกับภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในอนาคต และยังส่งผลให้ลูกค้าประชาชนใช้บริการสินเชื่อกับ ธอส. จำนวนมาก จนสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ทะลุเป้าหมาย 226,789 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2565

เหตุการณ์ที่ 82 : GHB Smart Rider
เหตุการณ์ที่ 82 : GHB Smart Rider

ลงนามสัญญาเงินกู้นอกสถานที่ทำการของธนาคาร อาทิ ที่บ้าน ที่ทำงาน ร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือที่สำนักงานที่ดินโดยไม่ต้องเดินทางมาที่ธนาคาร แต่ได้รับบริการเช่นเดียวกันกับมาลงนามสัญญาเงินกู้ที่ธนาคาร และสามารถนัดวันไปจดทะเบียนสิทธินิติกรรมที่สำนักงานที่ดินต่อได้ทันที

เหตุการณ์ที่ 81 : สลากออมทรัพย์ ธอส. ชุด“วิมานเมฆ Plus” หน่วยละ 1 ล้านบาท
เหตุการณ์ที่ 81 : สลากออมทรัพย์ ธอส. ชุด“วิมานเมฆ Plus” หน่วยละ 1 ล้านบาท

สลากพรีเมี่ยมที่จำหน่ายในราคาหน่วยละ 1 ล้านบาท จำนวน 27,000 หน่วย (แบ่งเป็น 3 หมวด ๆ ละ 9,000 หน่วย) กรอบวงเงินรวม 27,000 ล้านบาท อายุสลาก 2 ปี เมื่อฝากครบกำหนดรับผลตอบแทนหน้าสลากสูงถึง 1.45% ต่อปี รางวัลที่ 1 มูลค่าสูงถึง 3 ล้านบาท เปิดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 จำหน่ายได้เต็มกรอบวงเงิน 27,000 ล้านบาท ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565

เหตุการณ์ที่ 80 : บริการโอนเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากผู้ประกอบการแทนการจัดทำแคชเชียร์เช็ค

เพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า ช่วยลดขั้นตอนและประหยัดเวลาให้กับผู้ขายสามารถรับเงินผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีแทน โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขาของธนาคารเพื่อนำแคชเชียร์เช็คที่ได้รับจากธนาคารไปขึ้นเงินเหมือนที่ผ่านมา

เหตุการณ์ที่ 79 : โครงการจัดเก็บ Electronic File แทนเอกสารสิทธิ์ต้นฉบับ(ธนาคารไม่เก็บโฉนด)
เหตุการณ์ที่ 79 : โครงการจัดเก็บ Electronic File แทนเอกสารสิทธิ์ต้นฉบับ(ธนาคารไม่เก็บโฉนด)

ลูกค้าสามารถรับโฉนดที่ดินหรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดฉบับจริงกลับบ้านได้ทันทีในวันที่ทำนิติกรรมการโอนและจดจำนองที่สำนักงานที่ดิน เพื่อให้ลูกค้าได้เก็บโฉนดที่ดินหรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ฉบับจริงไว้กับตัวเองด้วยความภูมิใจและความสุขที่ได้มีบ้าน โดย ธอส. ถือเป็นธนาคารแห่งแรกที่จัดเก็บโฉนดที่ดินหรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารสิทธิ์ต้นฉบับ

เหตุการณ์ที่ 78 : Application : GHB ALL GEN
เหตุการณ์ที่ 78 : Application : GHB ALL GEN

Generation ไหนก็ใช้ได้ แอปเดียวครบ จบทุกเรื่อง!! Application ใหม่ของ ธอส. ที่พัฒนาต่อยอดจาก Application : GHB ALL เพื่อให้มีความทันสมัย ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ Lifestyle แบบ New Normal ของลูกค้าทุกเพศ ทุกวัย รวบรวมบริการสำคัญสำหรับลูกค้า ธอส. อาทิ การยื่นขอสินเชื่อ ชำระหนี้เงินกู้ ดูใบเสร็จ โอนเงิน เปิดบัญชี และซื้อสลากออมทรัพย์ ธอส. เป็นต้น

เหตุการณ์ที่ 77 : Application : GHB ALL BFRIEND
เหตุการณ์ที่ 77 : Application : GHB ALL BFRIEND

แอปพลิเคชันที่พร้อมเป็นเพื่อนที่อยู่เคียงข้างลูกค้าที่ประสบปัญหาในการผ่อนชำระสินเชื่อบ้านให้ได้รับทางเลือกและเงื่อนไขการชำระหนี้ที่เหมาะสมกับปัญหาของลูกค้า สามารถกลับมาผ่อนชำระได้ตามปกติไปจนถึงการปิดบัญชีเงินกู้ได้ในอนาคต โดยมีฟังก์ชันหลัก ประกอบด้วย 1.ตรวจสอบข้อมูลบัญชีเงินกู้ 2.ยื่นคำร้องประนอมหนี้ และ 3.ยื่นคำร้องฝากขายทรัพย์ สำหรับลูกค้าที่ไม่สามารถผ่อนชำระต่อได้

เหตุการณ์ที่ 76 : ปรับปรุงเงื่อนไขการให้สินเชื่อรองรับกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)
เหตุการณ์ที่ 76 : ปรับปรุงเงื่อนไขการให้สินเชื่อรองรับกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)

ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมทางเพศในสังคม สนับสนุนให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) สามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ง่ายยิ่งขึ้น เพื่อความสุข ความมั่นคง และคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเองและคนในครอบครัว จึงได้ปรับปรุงเงื่อนไขในการให้สินเชื่อของธนาคาร โดยกำหนดให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) สามารถกู้ร่วมกันได้ ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์สินเชื่อ เช่นเดียวกับกรณีกู้ร่วมกับคู่สมรส พี่-น้อง และบิดา-มารดา

เหตุการณ์ที่ 75 : GHB VARIETY HOME VIRTUAL FAIR : มหกรรมที่อยู่อาศัยออนไลน์
เหตุการณ์ที่ 75 : GHB VARIETY HOME VIRTUAL FAIR : มหกรรมที่อยู่อาศัยออนไลน์

รองรับความต้องการของลูกค้าประชาชนในยุค New Normal ให้สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของ ธอส. ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านช่องทางออนไลน์ สะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา โดยมีจำนวนผู้เข้าชมงาน จองสิทธิ์ใช้บริการผลิตภัณฑ์สินเชื่อ เงินฝาก สลากออมทรัพย์ และบ้านมือสอง ธอส. ทางเว็บไซต์ virtualfair.ghbank.co.th รวมเกือบ 100,000 ราย

2021
เหตุการณ์ที่ 74 : กรรมการผู้จัดการ ธอส. ได้รับการยกย่อง
เหตุการณ์ที่ 74 : กรรมการผู้จัดการ ธอส. ได้รับการยกย่อง

– นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้รับรางวัล “Thailand’s Top CEO Awards 2021” ในงาน “2021 ASIA CEO SUMMIT & AWARD CEREMONY : Asia’s Champions of Excellence” ซึ่งจัดขึ้นโดย บริษัท นิโอ ทาร์เก็ต จำกัด และบริษัท อินฟลูเอ็นเชี่ยลแบรนด์ ประเทศสิงคโปร์
– วารสารการเงินธนาคาร มอบรางวัล “นักการเงินแห่งปี Financier of the Year 2021” ให้แก่ นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งเป็นรางวัลที่จัดทำขึ้นเพื่อยกย่องผู้บริหารระดับสูง ที่มีผลงานโดดเด่น วิสัยทัศน์กว้างไกล ทันสมัย ขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตก้าวหน้าและยั่งยืน โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม

เหตุการณ์ที่ 73 : รับรางวัลเกียรติยศจากหน่วยงานภายนอกมากมาย
เหตุการณ์ที่ 73 : รับรางวัลเกียรติยศจากหน่วยงานภายนอกมากมาย

– 6 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น : 1.รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น (ดีเด่น) 2.รางวัลการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น 3.รางวัลความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีเด่น ด้านความคิดสร้างสรรค์ ประเภทดีเด่น 4.รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น ประเภทเชิดชูเกียรติ 5.รางวัลบริการดีเด่น และ 6.รางวัลความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีเด่น ด้านนวัตกรรม ประเภทชมเชย
– รางวัลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA Awards 2021) ผลการประเมินที่ 99.81 คะแนน สูงสุดอันดับ 1 ในประเภทหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน
– รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Awards) “ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจ”
– ผลิตภัณฑ์สินเชื่อโครงการบ้านล้านหลัง ได้รับรางวัล “BUSINESS+ PRODUCT OF THE YEARS AWARDS 2021” รางวัลสุดยอดสินค้าและบริการแห่งปี 2564 จากผลการสำรวจให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการยอดเยียมแห่งปี ในกลุ่มการเงินการธนาคารและการลงทุน

เหตุการณ์ที่ 72 : การช่วยเหลือลูกค้าที่่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19
เหตุการณ์ที่ 72 : การช่วยเหลือลูกค้าที่่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19

ธอส. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ตาม “โครงการ ธอส. ช่วยคนไทย ร่วมสร้างชาติ” และ “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ” รวมทั้งสิ้น 22 มาตรการ โดยมีลูกค้าเข้าร่วมมาตรการสูงสุด 973,227 บัญชี จำนวนเงิน 847,218 ล้านบาท

เหตุการณ์ที่ 71 : โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2
เหตุการณ์ที่ 71 : โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) สานต่อโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 ภายใต้กรอบวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยคงที่ 4 ปีแรก 1.99% ต่อปี ให้กู้ซื้อที่อยู่อาศัยราคาซื้อ-ขายไม่เกิน 1,200,000 บาท เงินงวดคงที่นานถึง 84 งวดแรก ฟรีค่าธรรมเนียม 4 ประเภท 1.ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 2.ค่าประเมินราคาหลักประกัน 3.ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และ 4.ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง

เหตุการณ์ที่ 70 : พัฒนาบริการด้านดิจิทัลด้วย 4 เมืองใหม่

มุ่งยกระดับการให้บริการภายใต้แนวคิดหลัก “Be Simple, Make it Simple” ยกระดับการพัฒนาบริการด้านดิจิทัลทั้งบริการทางการเงินและสินเชื่อ เพื่อนำ ธอส. ก้าวสู่การเป็น Digital Service Banking ด้วย 4 เมืองใหม่ ประกอบด้วย
1) Application : GHB ALL : แอปเดียวครบ จบ เหมือนยกธนาคารไว้ในมือคุณ
2) GHB Buddy บน Application Line : แจ้งเตือนทุกรายการเข้า-ออก สำคัญในบัญชีของลูกค้า
3) Application G H Bank Smart NPA : รวมบ้านมือสองของ ธอส. มาให้ลูกค้าได้เลือกซื้อในรูปแบบออนไลน์
4) Application G H Bank Smart NPL : ช่องทางติดต่อประนอมหนี้ เพื่อรักษาบ้านให้ยังเป็นของลูกค้า

เหตุการณ์ที่ 69 : สลากออมทรัพย์ ธอส.พรีเมียม ชุดพราวพิมาน Plus
เหตุการณ์ที่ 69 : สลากออมทรัพย์ ธอส.พรีเมียม ชุดพราวพิมาน Plus

สลากออมทรัพย์พรีเมียม มูลค่าหน่วยละ 10 ล้านบาท 1,000 หน่วย รวม 10,000 ล้านบาท อายุสลาก 2 ปี ผลตอบแทนหน้าสลาก 0.80% ต่อปี มีสิทธิ์ลุ้นรางวัลทุกเดือนรวม 24 ครั้ง โดยรางวัลที่ 1 มูลค่ารางวัลละ 1,000,000 บาท คิดเป็นโอกาสในการถูกรางวัลสูงถึง 1.30% ซึ่งสูงที่สุดของการออมผ่านสลากออมทรัพย์ในตลาดขณะนั้น

2020
เหตุการณ์ที่ 68 : โครงการ Virtual Branch
เหตุการณ์ที่ 68 : โครงการ Virtual Branch

หน่วยบริการสินเชื่อที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่สนใจยื่นกู้นอกสถานที่ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา แต่สามารถได้รับบริการเหมือนกับมาที่สาขา ถือเป็นการพัฒนาการให้บริการลูกค้าในรูปแบบใหม่ และตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การขยายฐานสินเชื่อที่่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ ทั้งในกลุ่ม Social & Business

เหตุการณ์ที่ 67 : ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับรางวัลคุุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ประจำปี 2562
เหตุการณ์ที่ 67 : ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับรางวัลคุุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ประจำปี 2562

– รางวัล ITA Awards ประจำปี 2563
– มาตรการช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
– G H Bank New Normal Services
– สลากออมทรัพย์ ธอส. รุ่นที่ 2 ชุุดพราวพิมาน และรุ่นที่ 3 ชุุดพิมานมาศ
– ธอส. นำร่องประมูลบ้านมือสองออนไลน์ครั้งแรก
– นายฉัตรชัย ศิริไล ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ (วาระที่ 2)

รายละเอียด

2019
เหตุการณ์ที่ 66 : ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class (TQC)
เหตุการณ์ที่ 66 : ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class (TQC)

– Mobile Application : GHB ALL
– โครงการบ้านล้านหลัง
– รางวัลการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
– รางวัล “การบริหารสู่ความเป็นเลิศ” Thailand Quality Class (TQC) ประจำปี 2561
– On Production GHB System
– สลากออมทรัพย์ ธอส. รุ่นที่ 1 ชุดวิมานเมฆ

รายละเอียด

2018
เหตุการณ์ที่ 65 : ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับ 3 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2561
เหตุการณ์ที่ 65 : ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับ 3 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2561

รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น กลุ่มขนาดใหญ่ รางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น ด้านการยกระดับการบริหารจัดการองค์กร และรางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ ประเภทเชิดชูเกียรติ

2017
เหตุการณ์ที่ 64 : มุ่งเน้นนวัตกรรมนำองค์กร พลิกโฉมบริการทางการเงินสู่ Digital Banking
เหตุการณ์ที่ 64 : มุ่งเน้นนวัตกรรมนำองค์กร พลิกโฉมบริการทางการเงินสู่ Digital Banking

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประกาศแผน Transformation to Digital Services เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และก้าวสู่ Digital Banking นำไปสู่การเป็น G H Bank Unmanned Branch ในอนาคต

2016
เหตุการณ์ที่ 63 : โครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ
เหตุการณ์ที่ 63 : โครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้สนับสนุนสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนพิเศษ ใน “โครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ” เพื่อเพิ่มโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองบนที่ดินราชพัสดุ รวมทั้งผู้ที่ต้องการซ่อมแซมหรือต่อเติมที่อยู่อาศัยที่ปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุ

เหตุการณ์ที่ 62 : นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการคนที่ 13
เหตุการณ์ที่ 62 : นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการคนที่ 13

ประกาศนโยบายใหม่ นำทีมผู้บริหารและพนักงาน ก้าวสู่ “ธนาคารที่ดีที่สุด สำหรับการมีบ้าน : The Best Housing Solution Bank” โดย ธอส.จะทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้านที่อยู่อาศัย ควบคู่กับการสร้างโอกาสให้คนไทยมีบ้านเป็นของตนเอง โดยใช้กลไกขับเคลื่อน 3 ด้าน เพื่อนำ ธอส.ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ได้แก่ Social Solution, Business Solution และ Management Solution

เหตุการณ์ที่ 61 : โครงการบ้านประชารัฐ
เหตุการณ์ที่ 61 : โครงการบ้านประชารัฐ

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้ดำเนิน “โครงการบ้านประชารัฐ” ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง

2013
เหตุการณ์ที่ 60 : ครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนาธนาคารอาคารสงเคราะห์
เหตุการณ์ที่ 60 : ครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนาธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ครบรอบ ๖๐ ปี แห่งการสถาปนาในวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ จึงได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าวด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านกิจกรรมโครงการ ธอส. มีการตอบแทนสู่สังคมด้วยการจัดกิจกรรม CSR ส่งมอบ “ศูนย์การเรียนรู้ ประตูสู่อาเซียน” เป็นต้น

เหตุการณ์ที่ 59 : นางอังคณา ไชยมนัส กรรมการผู้จัดการคนที่ 12
เหตุการณ์ที่ 59 : นางอังคณา ไชยมนัส กรรมการผู้จัดการคนที่ 12

นางอังคณา ไชยมนัส เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์คนที่ ๑๒ และเป็นกรรมการผู้จัดการหญิงคนแรกในประวัติศาสาตร์ นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งธนาคารในสมัย
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งเมื่อวันที่
๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

2011
เหตุการณ์ที่ 58 : โครงการบ้าน ธอส. – ธปท. เพื่อผู้ประสบอุทกภัย
เหตุการณ์ที่ 58 : โครงการบ้าน ธอส. – ธปท. เพื่อผู้ประสบอุทกภัย

จากนโยบายช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ของรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดสรรวงเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับ ธอส. เพื่อปล่อยสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำให้กับลูกค้าธนาคารฯ ที่ประสบอุทกภัย ภายใต้ “โครงการบ้าน ธอส.-ธปท.เพื่อผู้ประสบอุทกภัย”

เหตุการณ์ที่ 57 : ออกมาตรการลดภาระหนี้ที่อยู่อาศัยช่วยเหลือ
ผู้ประสบอุทกภัยปี 2554
เหตุการณ์ที่ 57 : ออกมาตรการลดภาระหนี้ที่อยู่อาศัยช่วยเหลือ<br>ผู้ประสบอุทกภัยปี 2554

ในปี ๒๕๕๔ ประเทศไทย ต้องประสบหายนะจากมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ธนาคารฯ จึงได้ออกมาตรการลดภาระหนี้ที่อยู่อาศัยช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบอุทกภัย “พักหนี้ ลดดอกเบี้ยและปลดหนี้” โดยขยายระยะเวลาพักชำระหนี้และปลอดดอกเบี้ย จากเดิม  ๔ เดือน ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน ๖ เดือน

เหตุการณ์ที่ 56: โครงการบ้าน ธอส.เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก
เหตุการณ์ที่ 56: โครงการบ้าน ธอส.เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก

เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ธนาคารฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการเปิด “โครงการบ้าน ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก” ในอัตราดอกเบี้ย ๐% ๒ ปี ในวงเงิน ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งปรากฎว่ามีประชาชนให้ความสนใจยื่นกู้อย่างล้นหลาม จนวงเงินหมดภายในเวลาเพียง ๑ เดือน

เหตุการณ์ที่ 55 : นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการคนที่ 11
เหตุการณ์ที่ 55 : นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการคนที่ 11

นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี เป็นกรรมการผู้จัดการฯ คนที่ ๑๑ ในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีผลงานที่โดดเด่น คือ โครงการบ้าน ธอส.เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรกออกมาตรการลดภาระหนี้ที่อยู่อาศัยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี ๒๕๕๔ โครงการบ้าน ธอส. – ธปท. เพื่อผู้ประสบอุทกภัย เป็นต้น

2007
เหตุการณ์ที่ 54 : รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2550
เหตุการณ์ที่ 54 : รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2550

ธนาคารฯ ได้รับการประกาศจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลังให้เป็นรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๐ โดยได้รับ “รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น” ซึ่งนับเป็นปีที่ ๓ ติดต่อกันที่ธนาคารฯ ได้รับรางวัลอันน่าภาคภูมิใจในการบริหารจัดการองค์กร

เหตุการณ์ที่ 53 : ปรับโฉมเปลี่ยนระบบงานหลักและภาพลักษณ์ใหม่
เหตุการณ์ที่ 53 : ปรับโฉมเปลี่ยนระบบงานหลักและภาพลักษณ์ใหม่

ปี ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐ ธนาคารฯ ได้ปรับโฉมภายใต้คอนเซ็ปต์ “ธนาคารทันสมัย เพื่อที่อยู่อาศัยครบวงจร” เริ่มตั้งแต่การปรับเปลี่ยนระบบงานภายในองค์กร ตลอดจนการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กรให้สากลและทันสมัยมากยิ่งขึ้นในส่วนของโลโก้ ยังคงใช้สัญลักษณ์เดิมภายใต้ชื่อสากล G H Bank

เหตุการณ์ที่ 52 : จัดทำ ASIA – PACIFIC HOUSING JOURNAL
เหตุการณ์ที่ 52 : จัดทำ ASIA – PACIFIC HOUSING JOURNAL

ในปี ๒๕๕๐ ธนาคารฯ ได้จัดทำวารสารภาษาอังกฤษ “GH Bank Housing Journal” และต่อมาในปี ๒๕๕๓ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “Asia – Pacific Housing Journal” ซึ่งถือเป็นฉบับแรกของประเทศไทยและเอเชีย

2006
เหตุการณ์ที่ 51 : รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2549
เหตุการณ์ที่ 51 : รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2549

ในปี ๒๕๔๙ ธนาคารฯ ได้รับการประกาศยกย่องจากกระทรวงการคลังให้เป็น “รัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี ๒๕๔๙” โดยได้รับรางวัลเป็นปีที่ ๒ ติดต่อกัน คือ “รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น” และ “รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น”

เหตุการณ์ที่ 50 : ให้บริการสินเชื่อด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัย
เหตุการณ์ที่ 50 : ให้บริการสินเชื่อด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัย

พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้มีการเพิ่มเติมในเรื่องของการให้สินเชื่อ โดยธนาคารฯ สามารถขยายวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น

เหตุการณ์ที่ 49 : พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2549
เหตุการณ์ที่ 49 : พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2549

เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นมา เป็นผลให้ธนาคารฯ สามารถขยายขอบเขตการทำธุรกรรมที่
เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัยได้อย่างครบวงจร

2005
เหตุการณ์ที่ 48 : รัฐวิสาหกิจแรกที่ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นครบ
3 ประเภท
เหตุการณ์ที่ 48 : รัฐวิสาหกิจแรกที่ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นครบ <br>3 ประเภท

ปี ๒๕๔๘ ธนาคารฯ ได้รับรางวัล “รัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี ๒๕๔๘” โดยสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง นับเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกและแห่งเดียวที่ได้รับรางวัลดีเด่นครบทั้ง ๓ ประเภทในปีเดียวกัน ได้แก่ รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น รางวัลคณะกรรมการและการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น

เหตุการณ์ที่ 47 : พัฒนาเว็บไซต์ฝ่ายงานในระบบอินทราเน็ตเป็นครั้งแรก
เหตุการณ์ที่ 47 : พัฒนาเว็บไซต์ฝ่ายงานในระบบอินทราเน็ตเป็นครั้งแรก

ในปี ๒๕๔๘ ธนาคารฯ ได้พัฒนาเว็บไซต์ฝ่ายงานในระบบ Intranet ธนาคารฯ เป็นครั้งแรก เพื่อให้เป็น “ฐานข้อมูลกลางของธนาคาร” (GHB E-INFO CENTER) ที่พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงและค้นหาข้อมูลข่าวสารของธนาคารฯ ในทุกด้านผ่านคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

เหตุการณ์ที่ 46 : ปล่อยสินเชื่อสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ เกือบ 1.3 แสนล้านบาท
เหตุการณ์ที่ 46 : ปล่อยสินเชื่อสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ เกือบ 1.3 แสนล้านบาท

ในปี ๒๕๔๘ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สามารถปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้จำนวนทั้งสิ้น ๑๘๕,๑๒๙ ราย เป็นเงิน ๑๒๙,๖๓๕ ล้านบาท ซึ่งนับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของธนาคารฯ

เหตุการณ์ที่ 45 : ได้รับประกาศนียบัตรการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม
(Best Pratice Certificate)
เหตุการณ์ที่ 45 : ได้รับประกาศนียบัตรการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม <br>(Best Pratice Certificate)

ธนาคารฯ ได้เข้าร่วมการประกวดรางวัลดูไบในด้านการดำเนินงานที่ดีเยี่ยมครั้งที่ ๕ ปี ๒๕๔๗ และได้รับการคัดเลือกผลงานเป็นหนึ่งใน Best Practice เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยองค์การสหประชาชาติเพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (UN-HABITAT) และเทศบาลนครดูไบสาธารณรัฐอาหรับอามิเรตส์

2004
เหตุการณ์ที่ 44 : จัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
เหตุการณ์ที่ 44 : จัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

การจัดตั้ง “ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์” ริเริ่มโดยของกระทรวงการคลังและธนาคารโลก ซึ่งมอบหมายให้ธนาคารอาคารฯ ดำเนิน “โครงการศึกษาเพื่อจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ” โดยให้เงินทุนสนับสนุนจนสามารถจัดตั้ง “ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์” ได้สำเร็จเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗

2002
เหตุการณ์ที่ 43 : ออกโครงการ Fast Track แก่ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัย
เหตุการณ์ที่ 43 : ออกโครงการ Fast Track แก่ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัย

ธนาคารฯ เริ่มเปิดให้บริการโครงการ Fast Track ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๕ ให้กับผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยที่มาเข้าร่วมโครงการ ทำให้ลูกค้าของโครงการบ้านจัดสรรสามารถกู้ได้สูงถึง ๙๐% ของราคาซื้อขาย และไม่ต้องเสียค่าประเมินราคาหลักประกัน สามารถลดระยะเวลาในการพิจารณาสินเชื่อลง

เหตุการณ์ที่ 42 : นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการคนที่ 10
เหตุการณ์ที่ 42 : นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการคนที่ 10

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ 10 ในช่วงระยะเวลา 8 ปี ที่ท่านบริหารงานที่ธอส. (9 กรกฎาคม 2545 – 15 พฤศจิกายน 2553) ถือได้ว่ามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน ธอส. ให้มีบทบาทสำคัญด้านที่อยู่อาศัยของประเทศ มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

2001
เหตุการณ์ที่ 41 : เปิดโครงการสินเชื่อ ธอส.-กบข.
เหตุการณ์ที่ 41 : เปิดโครงการสินเชื่อ ธอส.-กบข.

ปี ๒๕๔๔ ธนาคารฯ ได้ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จัดทำ “โครงการ ธอส. – กบข. เพื่อที่อยู่อาศัยข้าราชการสมาชิก กบข.” ให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ วงเงินกู้สูง ๑๐๐% ระยะเวลากู้ไม่เกิน ๓๐ ปี

เหตุการณ์ที่ 40 : จัดทำเว็บไซต์ศูนย์ที่อยู่อาศัยครบวงจร www.GHBHomeCenter.com
เหตุการณ์ที่ 40 : จัดทำเว็บไซต์ศูนย์ที่อยู่อาศัยครบวงจร www.GHBHomeCenter.com

ธนาคารฯ ได้มีพิธีเปิดตัวเว็บไซต์ www.GHBHomeCenter.com เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และต่อมาในปี ๒๕๔๖ คุณขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการจึงมีนโยบายให้ยกระดับ www.GHBHomeCenter.com เป็น “ศูนย์ข้อมูลซื้อ – ขายที่อยู่อาศัยครบวงจร ธอส.”

เหตุการณ์ที่ 39 : นายพิชา ดำรงพิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการคนที่ 9
เหตุการณ์ที่ 39 : นายพิชา ดำรงพิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการคนที่ 9

นายพิชา ดำรงพิวัฒน์ เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ ๙ ท่านมีผลงานที่โดดเด่น อาทิ การพลิกฟื้น ธอส.จากผลขาดทุนมาเป็นมีกำไรในปี ๒๕๔๔ การดำเนินโครงการ ธอส.- กบข. การจัดทำเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยครบวงจร www.GHBHomeCenter.com เป็นต้น

1999
เหตุการณ์ที่ 38 : จัดตั้งบริษัทข้อมูลเครดิตไทย
เหตุการณ์ที่ 38 : จัดตั้งบริษัทข้อมูลเครดิตไทย

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังให้จัดตั้ง “บริษัทข้อมูลเครดิตไทย (Thai Credit Bureau Co.,Ltd.)” โดย ธอส. ถือหุ้น 49% และบริษัท ศูนย์ประมวลผล จำกัด ถือหุ้น 51% ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทดังกล่าว เป็นการเชื่อมโยงระบบข้อมูลของลูกค้าของธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สถาบันการเงินต่างๆ มีข้อมูลเครดิตลูกค้า เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปล่อยสินเชื่อได้ดียิ่งขึ้น เป็นการยกระดับคุณภาพของสินเชื่อและการดำเนินงานของระบบการให้สินเชื่อของประเทศให้ก้าวไปสู่ระดับสากล โดยได้เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒

1997
เหตุการณ์ที่ 37 : เจ้าภาพจัดประชุมใหญ่โลกว่าด้วยการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย ครั้งที่ 22
เหตุการณ์ที่ 37 : เจ้าภาพจัดประชุมใหญ่โลกว่าด้วยการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย ครั้งที่ 22

ธนาคารอาคารฯ ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม IUHF World Congress ครั้งที่ ๒๒ ร่วมกับสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย และ Asian Coalition of Housing Finance Institutions ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ และโรงแรมเชอราตัน แกรนด์ ลากูน จ.ภูเก็ต

เหตุการณ์ที่ 36 : นายสิริวัฒน์ พรหมบุรี กรรมการผู้จัดการคนที่ 8
เหตุการณ์ที่ 36 : นายสิริวัฒน์ พรหมบุรี กรรมการผู้จัดการคนที่ 8

นายสิริวัฒน์ พรหมบุรี เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ 8 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 11 เมษายน พ.ศ. 2543 ท่านมีผลงานที่น่าภาคภูมิใจ ได้แก่ การทำนวัตกรรมกระบวนงานสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย การวางรากฐานเกี่ยวกับการระดมทุน การแก้ไขปัญหา NPL เป็นต้น

เหตุการณ์ที่ 35 : ออกเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ย 9%
เหตุการณ์ที่ 35 : ออกเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ย 9%

ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสิน ร่วมกันให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยต่ำ ๙% คงที่ ๓๐ ปี (ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดอยู่ที่ประมาณ ๑๑- ๑๒%) แก่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไปในวงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ – ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐

1996
เหตุการณ์ที่ 34 : นายประดับ ธัญญะคุปต์ กรรมการผู้จัดการคนที่ 7
เหตุการณ์ที่ 34 : นายประดับ ธัญญะคุปต์ กรรมการผู้จัดการคนที่ 7

นายประดับ ธัญญะคุปต์ เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ ๗ โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ท่านมีผลงานที่ฝากไว้ คือ ให้ธนาคารฯ จัดประดับชักธงชาติในที่เหมาะสมสง่างามทั้งที่สำนักงานใหญ่และสาขา เป็นต้น

เหตุการณ์ที่ 33 : ได้รับยกย่องเป็นสถาบันที่มีผลการปฎิบัติการดีเยี่ยมจาก UN HABITAT
เหตุการณ์ที่ 33 : ได้รับยกย่องเป็นสถาบันที่มีผลการปฎิบัติการดีเยี่ยมจาก UN HABITAT

การที่ธนาคารอาคารฯ สร้างผลงานการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ช่วยให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ธนาคารฯ ได้รับการยกย่องจากศูนย์กลางสหประชาชาติว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (UN HABITAT) ในปี ๒๕๓๙ ให้เป็น “สถาบันการเงินที่มีผลการปฎิบัติการดีเยี่ยม”

เหตุการณ์ที่ 32 : เปิดอาคารสำนักงานใหญ่ ถนนพระราม 9
เหตุการณ์ที่ 32 : เปิดอาคารสำนักงานใหญ่ ถนนพระราม 9

ธนาคารฯ ได้สร้างสำนักงานใหญ่อาคารที่ ๒ สูง ๒๑ ชั้น เชื่อมต่อกับกับอาคารแรกและทำพิธีเปิดทำการเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สมัยคณะรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา โดยอาคารหลังใหม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของธนาคารฯ ให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น

เหตุการณ์ที่ 31 : จัดทำเว็บไซต์ www.ghb.co.th
เหตุการณ์ที่ 31 : จัดทำเว็บไซต์ www.ghb.co.th

ปี ๒๕๓๙ ธนาคารฯ ได้ริเริ่มจัดทำ Web Site ของธนาคารฯ ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตชื่อ www.ghb.co.th เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการให้บริการเงินกู้และเงินฝากและข่าวสารอื่น ๆ แก่สาธารณชน ซึ่งนับว่าเป็น Web รุ่นแรกของประเทศไทยที่ยังคงดำเนินการเผยแพร่จนถึงปัจจุบัน (เปลี่ยนชื่อเป็น www.ghbank.co.th)

1995
เหตุการณ์ที่ 30 : จัดทำวารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์รายไตรมาส
เหตุการณ์ที่ 30 : จัดทำวารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์รายไตรมาส

ปี ๒๕๓๘ ธนาคารฯ ได้จัดทำ “วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์” เพื่อเผยแพร่บทความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และได้จัดทำอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๑๙ ปี และในช่วงปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๒ นั้นได้รับการโหวตให้เป็นวารสารวิชาการที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุดอันดับ ๑ ของไทย ๓ ปีซ้อน

1994
เหตุการณ์ที่ 29 : นวัตกรรมกระบวนงานปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย
เหตุการณ์ที่ 29 : นวัตกรรมกระบวนงานปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ในปี ๒๕๓๗ ธนาคารฯ ได้ริเริ่มดำเนินการทำนวัตกรรมกระบวนงานให้สินเชื่อรายย่อยให้มีความคล่องตัวมากขึ้น ต่อมาปี ๒๕๓๘ ก็ได้ดำเนินการทำนวัตกรรมกระบวนงานพัสดุ เพื่อปรับปรุงระเบียบวิธีการด้านการจัดซื้อจัดจ้าง และควบคุมพัสดุคุรุภัณฑ์ของธนาคารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

1993
เหตุการณ์ที่ 28 : เปลี่ยนสัญลักษณ์ประจำธนาคารอาคารสงเคราะห์ใหม่
เหตุการณ์ที่ 28 : เปลี่ยนสัญลักษณ์ประจำธนาคารอาคารสงเคราะห์ใหม่

ปี ๒๕๓๖ ธนาคารฯ ดำเนินงานครบรอบ ๔๐ ปี และได้รับยกย่องเป็น “รัฐวิสาหกิจที่ดี” ดังนั้น จึงมีการเปลี่ยนสัญลักษณ์ธนาคารใหม่จาก “รูปวิมานเมฆ” เป็น “รูปสองมือโอบอุ้มบ้าน” ซึ่งนับเป็นรูปลักษณ์ที่เรียบง่ายทันสมัย และคงความหมายของภารกิจหลักที่จะช่วยโอบอุ้มการเงินให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย

เหตุการณ์ที่ 27 : คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ ธอส.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดี
เหตุการณ์ที่ 27 : คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ ธอส.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดี

ปี ๒๕๓๖ สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ธนาคารฯ มีฐานะเป็น “รัฐวิสาหกิจที่ดี” เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เนื่องจากผลการประกอบการที่ดีเด่น ของธนาคารฯ นับเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งที่ ๒ ที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลถัดจากการปิโตรเลียม

1992
เหตุการณ์ที่ 26 : พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
เหตุการณ์ที่ 26 : พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งผลจากการออกพระราชบัญญัติดังกล่าว ทำให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์สามารถเพิ่มทุนได้ตามความจำเป็นในการขยายกิจการของธนาคาร เพื่อให้ธนาคารสามารถขยายการให้บริการด้านสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยแก่ประชาชนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นและให้อัตราส่วนของเงินทุนของธนาคารต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลทำให้การบริหารของธนาคารมีความคล่องตัวมากขึ้น

1991
เหตุการณ์ที่ 25 : จัดตั้งสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย
เหตุการณ์ที่ 25 : จัดตั้งสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย

“ชมรมสินเชื่อที่อยู่อาศัย” ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยมีคุณสิทธิชัย ตันติ์พิพัฒน์ เป็นประธาน ต่อมาชมรมฯ ได้ยกฐานะและจดทะเบียนเป็น “สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย”เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๓๕ โดย มีคุณสิทธิชัย ตันติ์พิพัฒน์ เป็นประธานสมาคมคนแรก

1990
เหตุการณ์ที่ 24 : พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เงินฝาก – เงินกู้ออนไลน์ที่ทันสมัย
เหตุการณ์ที่ 24 : พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เงินฝาก – เงินกู้ออนไลน์ที่ทันสมัย

ธนาคารฯ ได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์้ด้านบริการเงินฝากแล้วเสร็จในปี ๒๕๓๓ ส่วนระบบเงินกู้ออนไลน์ ธนาคารฯ ได้ริเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ และได้ติดตั้งที่สำนักงานใหญ่และเริ่มทดลองใช้งานคู่ขนานกับระบบเดิมเมื่อปี ๒๕๓๓ ต่อมาได้ใช้งานอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔

เหตุการณ์ที่ 23 : นายสิทธิชัย ตันติ์พิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการคนที่ 6
เหตุการณ์ที่ 23 : นายสิทธิชัย  ตันติ์พิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการคนที่ 6

นายสิทธิชัย ตันติ์พิพัฒน์ เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ ๖ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งในช่วงระยะเวลากว่า ๖ ปี ที่ท่านบริหาร นับว่าเป็นยุคที่ธนาคารฯ มีความรุ่งเรืองสูงสุด ทั้งในแง่ของการขยายสินเชื่อ การขยายสาขา และด้านอื่น ๆ

1987
เหตุการณ์ที่ 22 : เปิดสาขาเชียงใหม่เป็นสาขาแรกในจังหวัดภูมิภาค
เหตุการณ์ที่ 22 : เปิดสาขาเชียงใหม่เป็นสาขาแรกในจังหวัดภูมิภาค

ธนาคารฯ เริ่มมีนโยบายในการขยายให้บริการทั้งทางด้านสินเชื่อและเงินฝากในจังหวัดใหญ่ ๆ ของภูมิภาค โดยได้เปิด “สาขาสำนักงานเชียงใหม่” ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งนับเป็นสาขาแรกในจังหวัดภูมิภาค และเป็นสาขาแห่งที่สองของธนาคารฯ ต่อจากสาขาราชดำเนิน

1986
เหตุการณ์ที่ 21 : การประเมินมูลค่าหลักประกันของลูกค้าที่มากู้เงินกับธนาคาร

ในปี ๒๕๒๙ สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินโดยรวมของประเทศเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ธนาคารฯ ได้ปรับปรุงระบบงานอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการจ้างผู้ประเมินค่าทรัพย์สินภายนอก
มาทำการประเมินค่าหลักประกันให้การประเมินราคามีมาตรฐาน และช่วยให้การดำเนินงานของธนาคารฯ รวดเร็วมากขึ้น

เหตุการณ์ที่ 20 : เปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่ถนนพระราม 9
เหตุการณ์ที่ 20 : เปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่ถนนพระราม 9

ปี ๒๕๒๙ ธนาคารฯ เปิด “สำนักงานใหญ่แห่งใหม่” ขึ้นที่ถนนพระราม ๙ แยกอโศก – ดินแดง เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ และใช้สำนักงานใหญ่เดิมที่ถนนราชดำเนินเป็นสำนักงานสาขา ดังนั้น “สำนักงานราชดำเนิน” จึงกลายสภาพเป็นสำนักงานสาขาแห่งแรกของธนาคารอาคารสงเคราะห์

1984
เหตุการณ์ที่ 19 : เปิดบริการเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ
เหตุการณ์ที่ 19 : เปิดบริการเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ

ในปี ๒๕๒๗ ธนาคารฯ เน้นการระดมเงินทุนจากต่างประเทศโดยการออกพันธบัตรเงินกู้ และภายในประเทศริเริ่มให้มีการนำเสนอรูปแบบเงินฝากใหม่ที่เรียกว่า “บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ” ที่ลูกค้าไม่ต้องเสียภาษี และสามารถถอนเงินได้ทุกเดือน ซึ่งได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างแพร่หลาย

1983
เหตุการณ์ที่ 18 : เปิดศักราชยุคใหม่ ปรับโครงสร้างองค์กรและกระบวนการให้สินเชื่อ
เหตุการณ์ที่ 18 : เปิดศักราชยุคใหม่ ปรับโครงสร้างองค์กรและกระบวนการให้สินเชื่อ

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและกลยุทธ์ด้านการเงินการธนาคาร เพื่อสร้างรากฐานความมั่นคงขององค์กรในระยะยาวหลายประการ อาทิ การแยกส่วนเงินกู้ที่มีการปล่อยสินเชื่อทั้งรายย่อยและโครงการออกเป็น ๒ ส่วน คือ “ส่วนเงินกู้ทั่วไป” และ “ส่วนเงินกู้โครงการ” และเริ่มปรับปรุงกระบวนการให้สินเชื่อที่ดีขึ้น เช่น การสร้างหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์สินเชื่อที่รอบคอบรัดกุมขึ้น และมีการทำการตลาดสินเชื่อ โดยมีการจัดทำเอกสารแผ่นพับการขอสินเชื่อ เพื่อให้ลูกค้าเข้าได้ชัดเจนและง่ายขึ้น

1981
เหตุการณ์ที่ 17 : นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล กรรมการผู้จัดการคนที่ 5
เหตุการณ์ที่ 17 : นายกิตติ  พัฒนพงศ์พิบูล กรรมการผู้จัดการคนที่ 5

นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ ๕ โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า ๘ ปีที่ท่านบริหารงานที่ธนาคารฯ ท่านได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงบทบาทของธนาคารฯ ให้เติบโตก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

1979
เหตุการณ์ที่ 16 : เผชิญมรสุมสภาพคล่องทางการเงิน
เหตุการณ์ที่ 16 : เผชิญมรสุมสภาพคล่องทางการเงิน

ธนาคารฯ ได้รับผลกระทบจากภาวะเงินตึงตัวในปี ๒๕๒๒ และในปี ๒๕๒๔ ได้เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจตกต่ำ ธนาคารฯ ต้องประสบกับปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงจากการปล่อยเงินกู้ระยะสั้นให้กับเจ้าของโครงการบ้านจัดสรรจำนวนมาก จึงนับเป็นช่วงที่ธนาคารฯบริหารงานด้วยความลำบากยิ่ง

1975
เหตุการณ์ที่ 15 : นายมานะศักดิ์ อินทรโกมาลย์สุต กรรมการผู้จัดการคนที่ 4
เหตุการณ์ที่ 15 : นายมานะศักดิ์ อินทรโกมาลย์สุต กรรมการผู้จัดการคนที่ 4

นายมานะศักดิ์ อินทรโกมาลย์สุต เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ ๔ ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารฯ
ต้องเผชิญกับมรสุมสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนักแต่ท่านก็ยังสามารถประคับประคอง
ให้ธนาคารฯ ดำเนินต่อไปได้

1974
เหตุการณ์ที่ 14 : เปิดบริการเงินฝากครั้งแรก
เหตุการณ์ที่ 14 : เปิดบริการเงินฝากครั้งแรก

ธนาคารฯ เปิดดำเนินธุรกิจในการรับฝากเงิน (Deposit Taking) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยประกอบด้วยเงินฝาก ๓ ประเภท ได้แก่ ๑) เงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเงินฝากกระแสรายวัน ๒) เงินฝากออมทรัพย์ ๓) เงินฝากประจำ ๓ เดือน ๖ เดือน และ ๑๒ เดือนขึ้นไป

1973
เหตุการณ์ที่ 13 : ก้าวสู่การเป็นสถาบันการเงินเฉพาะด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย
เหตุการณ์ที่ 13 : ก้าวสู่การเป็นสถาบันการเงินเฉพาะด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ผลของกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 316 จัดตั้งการเคหะแห่งชาติ และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 317 ทำให้มีการแยกกิจการเกี่ยวกับการให้เช่าซื้อที่ดินและอาคารของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ให้กับการเคหะแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ดังนั้น ธนาคารอาคารสงเคราะห์จึงทำหน้าที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยประการเดียว (Specialized Housing Finance Institution) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา

เหตุการณ์ที่ 12 : โอนกิจการด้านการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้การเคหะแห่งชาติ
เหตุการณ์ที่ 12 : โอนกิจการด้านการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้การเคหะแห่งชาติ

ในปี ๒๕๑๖ ธนาคารฯได้โอนกิจการด้านการจัดสรรที่ดินและพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้กับการเคหะแห่งชาติ ทั้งนี้ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่โอนให้การเคหะแห่งชาติคิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น ๖๔ ล้านบาท ซึ่งนับเป็น Mile Stone หรือจุดเปลี่ยนบทบาทที่สำคัญจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์ของธนาคารฯ ช่วงต่อไป

เหตุการณ์ที่ 11 : ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 316 จัดตั้งการเคหะแห่งชาติ
เหตุการณ์ที่ 11 : ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 316 จัดตั้งการเคหะแห่งชาติ

เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖ รัฐบาลได้จัดตั้ง “การเคหะแห่งชาติ” ขึ้นตาม“ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๑๖” ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
ลงนามโดย จอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

1972
เหตุการณ์ที่ 10 : นายตุ๋ย เหล่าสุนทร กรรมการผู้จัดการคนที่ 3
เหตุการณ์ที่ 10 : นายตุ๋ย เหล่าสุนทร กรรมการผู้จัดการคนที่ 3

นายตุ๋ย เหล่าสุนทร กรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนในการผลักดันกฎหมายสำคัญ คือ การออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๑๖ จัดตั้งการเคหะแห่งชาติ
และประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๑๗ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕

เหตุการณ์ที่ 09 : ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 317 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ธอส.
เหตุการณ์ที่ 09 : ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 317 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ธอส.

รัฐบาลสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๑๗ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ คณะปฏิวัติเห็นสมควรปรับปรุงกิจการธนาคารฯ ให้สอดคล้องและประสานกับกิจการของการเคหะแห่งชาติ

1954
เหตุการณ์ที่ 08 : ธอส.ในบทบาทของนักพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในภาครัฐ
เหตุการณ์ที่ 08 : ธอส.ในบทบาทของนักพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในภาครัฐ

ในช่วงปี ๒๔๙๗-๒๔๙๙ ธนาคารฯได้จัดสร้างโครงการที่อยู่อาศัยหลายโครงการ ได้แก่ โครงการอาคารสงเคราะห์พิบูลวัฒนา (สามเสน) เนื้อที่ ๒๕ ไร่, โครงการอาคารสงเคราะห์ทุ่งมหาเมฆ เนื้อที่ ๗๖ ไร่ และได้เริ่มโครงการอาคารสงเคราะห์ถนนดินแดง จำนวนประมาณ ๖๐๐ หลัง บนที่ดิน ๑๒๐ ไร่

เหตุการณ์ที่ 07 : สร้างอาคารสงเคราะห์พิบูลเวศม์ เป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรแห่งแรกของไทย
เหตุการณ์ที่ 07 : สร้างอาคารสงเคราะห์พิบูลเวศม์ เป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรแห่งแรกของไทย

โครงการที่อยู่อาศัยแรกที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้จัดสร้างขึ้น ได้แก่ “โครงการพิบูลเวศม์” เป็นที่อยู่อาศัยประเภทเช่าซื้อ มีจำนวนอาคารเป็นบ้านเดี่ยว ๒๐๐ หลัง ตั้งอยู่ที่บริเวณพระโขนง – คลองตัน (สุขุมวิท ๗๑) บนเนื้อที่ ๘๐ ไร่ (จากเนื้อที่เต็ม ๓๐๐ ไร่) สำหรับโครงการอาคารสงเคราะห์แห่งแรก ได้ชื่อว่า “พิบูลเวศม์” นี้ ก็เพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านได้กรุณามาเป็นประธานในพิธีเปิดให้ประชาชนทำการเช่าซื้อ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2497

1953
เหตุการณ์ที่ 06 : รับทุนประเดิม 20 ล้านบาทจากกระทรวงการคลัง
เหตุการณ์ที่ 06 : รับทุนประเดิม 20 ล้านบาทจากกระทรวงการคลัง

ในปี ๒๔๙๖ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้รับเงินทุนประเดิมจากกระทรวงการคลังเป็นเงิน
๒๐ ล้านบาท ต่อมา คณะกรรมการธนาคารฯ เห็นสมควรที่จะส่งเสริมและขยายกิจการ
สร้างอาคารสงเคราะห์ ประเภทเช่าซื้อให้มากขึ้น จึงกู้เงินจากธนาคารออมสินในช่วงปี
๒๔๙๖ – ๒๔๙๙ อีกเป็นเงิน ๕๕ ล้านบาท

เหตุการณ์ที่ 05 : ม.ร.ว. ขจิต เกษมศรี กรรมการผู้จัดการคนที่ 2
เหตุการณ์ที่ 05 : ม.ร.ว. ขจิต เกษมศรี กรรมการผู้จัดการคนที่ 2

ม.ร.ว. ขจิต เกษมศรี เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์คนที่ ๒ ท่านได้ดำรงตำแหน่งนานกว่า ๑๔ ปี และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในประวัติ ๖๐ ปีของธนาคารฯ และนับว่าเป็นผู้บุกเบิกบริหารงานด้านการเคหะสงเคราะห์และการจัดสรรที่ดินเพื่อการให้เช่าซื้อรายแรก ๆ ของประเทศไทย

เหตุการณ์ที่ 04 : หลวงอภิรมย์โกษากร กรรมการผู้จัดการคนแรก
เหตุการณ์ที่ 04 : หลวงอภิรมย์โกษากร กรรมการผู้จัดการคนแรก

หลวงอภิรมย์โกษากร ดำรงตำแหน่งผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์คนแรกเมื่อปี ๒๔๙๖ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีระยะเวลาดำเนินงานประมาณ ๘ เดือน (มีนาคม – สิงหาคม ๒๔๙๖)

เหตุการณ์ที่ 03 : เปิดสำนักงานแห่งแรก ณ ถนนราชดำเนิน
เหตุการณ์ที่ 03 : เปิดสำนักงานแห่งแรก ณ ถนนราชดำเนิน

วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๖ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เป็นประธานประกอบพิธีเปิดสำนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ณ ถนนราชดำเนิน ธนาคารฯ จึงถือเอาฤกษ์วันนี้
เป็นวันเริ่มดำเนินการธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ “เป็นวันเกิดธนาคาร”

เหตุการณ์ที่ 02 : การแต่งตั้งคณะกรรมการธนาคารฯ ชุดแรก
เหตุการณ์ที่ 02 : การแต่งตั้งคณะกรรมการธนาคารฯ ชุดแรก

คณะกรรมการธนาคารชุดแรกแต่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้แก่
๑) พลโทประยูร ภมรมนตรี (ประธานกรรมการ) ๒) พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
๓) นายปกรณ์ อังศุสิงห์ ๔) พ.อ. หลวงบุรกรรมโกวิท ๕) พลตรี ถนอม กิตติขจร
๖) หม่อมเจ้าสุวิชากร วรวรรณ ๗) หลวงอภิรมย์โกษากร เป็นผู้จัดการ

เหตุการณ์ที่ 01 : การจัดตั้ง พ.ร.บ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496
เหตุการณ์ที่ 01 : การจัดตั้ง พ.ร.บ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496

วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖” ขึ้น เพื่อช่วยเหลือทางการเงินให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยตามควรแก่อัตภาพ โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ
วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖