นางอังคณา ไชยมนัส เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์คนที่ ๑๒ และเป็นกรรมการผู้จัดการหญิงคนแรกในประวัติศาสาตร์ นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งธนาคารในสมัย
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งเมื่อวันที่
๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
จากนโยบายช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ของรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดสรรวงเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับ ธอส. เพื่อปล่อยสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำให้กับลูกค้าธนาคารฯ ที่ประสบอุทกภัย ภายใต้ “โครงการบ้าน ธอส.-ธปท.เพื่อผู้ประสบอุทกภัย”
ในปี ๒๕๕๔ ประเทศไทย ต้องประสบหายนะจากมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ธนาคารฯ จึงได้ออกมาตรการลดภาระหนี้ที่อยู่อาศัยช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบอุทกภัย “พักหนี้ ลดดอกเบี้ยและปลดหนี้” โดยขยายระยะเวลาพักชำระหนี้และปลอดดอกเบี้ย จากเดิม ๔ เดือน ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน ๖ เดือน
เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ธนาคารฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการเปิด “โครงการบ้าน ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก” ในอัตราดอกเบี้ย ๐% ๒ ปี ในวงเงิน ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งปรากฎว่ามีประชาชนให้ความสนใจยื่นกู้อย่างล้นหลาม จนวงเงินหมดภายในเวลาเพียง ๑ เดือน
นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี เป็นกรรมการผู้จัดการฯ คนที่ ๑๑ ในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีผลงานที่โดดเด่น คือ โครงการบ้าน ธอส.เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรกออกมาตรการลดภาระหนี้ที่อยู่อาศัยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี ๒๕๕๔ โครงการบ้าน ธอส. – ธปท. เพื่อผู้ประสบอุทกภัย เป็นต้น
ธนาคารฯ ได้รับการประกาศจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลังให้เป็นรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๐ โดยได้รับ “รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น” ซึ่งนับเป็นปีที่ ๓ ติดต่อกันที่ธนาคารฯ ได้รับรางวัลอันน่าภาคภูมิใจในการบริหารจัดการองค์กร
ปี ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐ ธนาคารฯ ได้ปรับโฉมภายใต้คอนเซ็ปต์ “ธนาคารทันสมัย เพื่อที่อยู่อาศัยครบวงจร” เริ่มตั้งแต่การปรับเปลี่ยนระบบงานภายในองค์กร ตลอดจนการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กรให้สากลและทันสมัยมากยิ่งขึ้นในส่วนของโลโก้ ยังคงใช้สัญลักษณ์เดิมภายใต้ชื่อสากล G H Bank
ในปี ๒๕๕๐ ธนาคารฯ ได้จัดทำวารสารภาษาอังกฤษ “GH Bank Housing Journal” และต่อมาในปี ๒๕๕๓ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “Asia – Pacific Housing Journal” ซึ่งถือเป็นฉบับแรกของประเทศไทยและเอเชีย
ในปี ๒๕๔๙ ธนาคารฯ ได้รับการประกาศยกย่องจากกระทรวงการคลังให้เป็น “รัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี ๒๕๔๙” โดยได้รับรางวัลเป็นปีที่ ๒ ติดต่อกัน คือ “รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น” และ “รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น”
พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้มีการเพิ่มเติมในเรื่องของการให้สินเชื่อ โดยธนาคารฯ สามารถขยายวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น
เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นมา เป็นผลให้ธนาคารฯ สามารถขยายขอบเขตการทำธุรกรรมที่
เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัยได้อย่างครบวงจร
ปี ๒๕๔๘ ธนาคารฯ ได้รับรางวัล “รัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี ๒๕๔๘” โดยสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง นับเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกและแห่งเดียวที่ได้รับรางวัลดีเด่นครบทั้ง ๓ ประเภทในปีเดียวกัน ได้แก่ รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น รางวัลคณะกรรมการและการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น
ในปี ๒๕๔๘ ธนาคารฯ ได้พัฒนาเว็บไซต์ฝ่ายงานในระบบ Intranet ธนาคารฯ เป็นครั้งแรก เพื่อให้เป็น “ฐานข้อมูลกลางของธนาคาร” (GHB E-INFO CENTER) ที่พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงและค้นหาข้อมูลข่าวสารของธนาคารฯ ในทุกด้านผ่านคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ในปี ๒๕๔๘ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สามารถปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้จำนวนทั้งสิ้น ๑๘๕,๑๒๙ ราย เป็นเงิน ๑๒๙,๖๓๕ ล้านบาท ซึ่งนับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของธนาคารฯ
ธนาคารฯ ได้เข้าร่วมการประกวดรางวัลดูไบในด้านการดำเนินงานที่ดีเยี่ยมครั้งที่ ๕ ปี ๒๕๔๗ และได้รับการคัดเลือกผลงานเป็นหนึ่งใน Best Practice เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยองค์การสหประชาชาติเพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (UN-HABITAT) และเทศบาลนครดูไบสาธารณรัฐอาหรับอามิเรตส์
การจัดตั้ง “ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์” ริเริ่มโดยของกระทรวงการคลังและธนาคารโลก ซึ่งมอบหมายให้ธนาคารอาคารฯ ดำเนิน “โครงการศึกษาเพื่อจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ” โดยให้เงินทุนสนับสนุนจนสามารถจัดตั้ง “ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์” ได้สำเร็จเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ธนาคารฯ เริ่มเปิดให้บริการโครงการ Fast Track ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๕ ให้กับผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยที่มาเข้าร่วมโครงการ ทำให้ลูกค้าของโครงการบ้านจัดสรรสามารถกู้ได้สูงถึง ๙๐% ของราคาซื้อขาย และไม่ต้องเสียค่าประเมินราคาหลักประกัน สามารถลดระยะเวลาในการพิจารณาสินเชื่อลง
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ 10 ในช่วงระยะเวลา 8 ปี ที่ท่านบริหารงานที่ธอส. (9 กรกฎาคม 2545 – 15 พฤศจิกายน 2553) ถือได้ว่ามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน ธอส. ให้มีบทบาทสำคัญด้านที่อยู่อาศัยของประเทศ มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
ปี ๒๕๔๔ ธนาคารฯ ได้ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จัดทำ “โครงการ ธอส. – กบข. เพื่อที่อยู่อาศัยข้าราชการสมาชิก กบข.” ให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ วงเงินกู้สูง ๑๐๐% ระยะเวลากู้ไม่เกิน ๓๐ ปี
ธนาคารฯ ได้มีพิธีเปิดตัวเว็บไซต์ www.GHBHomeCenter.com เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และต่อมาในปี ๒๕๔๖ คุณขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการจึงมีนโยบายให้ยกระดับ www.GHBHomeCenter.com เป็น “ศูนย์ข้อมูลซื้อ – ขายที่อยู่อาศัยครบวงจร ธอส.”
นายพิชา ดำรงพิวัฒน์ เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ ๙ ท่านมีผลงานที่โดดเด่น อาทิ การพลิกฟื้น ธอส.จากผลขาดทุนมาเป็นมีกำไรในปี ๒๕๔๔ การดำเนินโครงการ ธอส.- กบข. การจัดทำเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยครบวงจร www.GHBHomeCenter.com เป็นต้น
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังให้จัดตั้ง “บริษัทข้อมูลเครดิตไทย (Thai Credit Bureau Co.,Ltd.)” โดย ธอส. ถือหุ้น 49% และบริษัท ศูนย์ประมวลผล จำกัด ถือหุ้น 51% ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทดังกล่าว เป็นการเชื่อมโยงระบบข้อมูลของลูกค้าของธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สถาบันการเงินต่างๆ มีข้อมูลเครดิตลูกค้า เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปล่อยสินเชื่อได้ดียิ่งขึ้น เป็นการยกระดับคุณภาพของสินเชื่อและการดำเนินงานของระบบการให้สินเชื่อของประเทศให้ก้าวไปสู่ระดับสากล โดยได้เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒
ธนาคารอาคารฯ ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม IUHF World Congress ครั้งที่ ๒๒ ร่วมกับสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย และ Asian Coalition of Housing Finance Institutions ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ และโรงแรมเชอราตัน แกรนด์ ลากูน จ.ภูเก็ต
นายสิริวัฒน์ พรหมบุรี เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ 8 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 11 เมษายน พ.ศ. 2543 ท่านมีผลงานที่น่าภาคภูมิใจ ได้แก่ การทำนวัตกรรมกระบวนงานสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย การวางรากฐานเกี่ยวกับการระดมทุน การแก้ไขปัญหา NPL เป็นต้น
ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสิน ร่วมกันให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยต่ำ ๙% คงที่ ๓๐ ปี (ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดอยู่ที่ประมาณ ๑๑- ๑๒%) แก่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไปในวงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ – ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐
นายประดับ ธัญญะคุปต์ เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารฯ คนที่ ๗ โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ท่านมีผลงานที่ฝากไว้ คือ ให้ธนาคารฯ จัดประดับชักธงชาติในที่เหมาะสมสง่างามทั้งที่สำนักงานใหญ่และสาขา เป็นต้น
การที่ธนาคารอาคารฯ สร้างผลงานการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ช่วยให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ธนาคารฯ ได้รับการยกย่องจากศูนย์กลางสหประชาชาติว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (UN HABITAT) ในปี ๒๕๓๙ ให้เป็น “สถาบันการเงินที่มีผลการปฎิบัติการดีเยี่ยม”
ธนาคารฯ ได้สร้างสำนักงานใหญ่อาคารที่ ๒ สูง ๒๑ ชั้น เชื่อมต่อกับกับอาคารแรกและทำพิธีเปิดทำการเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สมัยคณะรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา โดยอาคารหลังใหม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของธนาคารฯ ให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น
ปี ๒๕๓๙ ธนาคารฯ ได้ริเริ่มจัดทำ Web Site ของธนาคารฯ ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตชื่อ www.ghb.co.th เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการให้บริการเงินกู้และเงินฝากและข่าวสารอื่น ๆ แก่สาธารณชน ซึ่งนับว่าเป็น Web รุ่นแรกของประเทศไทยที่ยังคงดำเนินการเผยแพร่จนถึงปัจจุบัน (เปลี่ยนชื่อเป็น www.ghbank.co.th)
ปี ๒๕๓๘ ธนาคารฯ ได้จัดทำ “วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์” เพื่อเผยแพร่บทความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และได้จัดทำอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๑๙ ปี และในช่วงปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๒ นั้นได้รับการโหวตให้เป็นวารสารวิชาการที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุดอันดับ ๑ ของไทย ๓ ปีซ้อน