สินเชื่อพัฒนาโครงการ (ผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์/กลุ่มพันธมิตร)

สินเชื่อพัฒนาโครงการ (ผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์/กลุ่มพันธมิตร)

วัตถุประสงค์การยื่นกู้

สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยทุกประเภทในระดับราคาขายไม่เกิน 3.0 ล้านบาทต่อหน่วย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (ในตลาดหลักทรัพย์) และร้อยละ 30 (กลุ่มพันธมิตร) ของจำนวนหน่วยขายทั้งหมดของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ ดังนี้

  • ค่าก่อสร้างอาคารและพัฒนาสาธารณูปโภคในโครงการ
  • ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างอาคาร และพัฒนาสาธารณูปโภค ในโครงการ
  • การค้ำประกัน ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดทำโครงการ

วงเงิน / ระยะเวลากู้

วงเงิน

  • วงเงินกู้รวมไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าที่ดินอาคาร และสาธารณูปโภคตามราคาประเมินของธนาคาร ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
  • วงเงินเบิกเกินบัญชี ให้กู้ไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินกู้รวม แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
  • วงเงินหนังสือค้ำประกัน เพื่อค้ำประกันสาธารณูปโภค กำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดของหน่วยงานราชการ

หมายเหตุ :  กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

อัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม

อัตราดอกเบี้ย

ปี อัตราดอกเบี้ย
ปีที่ 1 - 2 = 4.50% ต่อปี
ปีที่ 3 = 5.25% ต่อปี
ปีที่ 4 - 5 = MLR - 1.25% ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (EIR) = 4.93% ต่อปี

หมายเหตุ :

  1. MLR ตามประกาศธนาคาร
  2. อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
  3. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (Effective Interest Rate : EIR) คือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ระบุเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย โดยคำนวณจากสมมติฐานวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 5 ปี
  4. กรณีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด คิดอัตราดอกเบี้ย MLR

ค่าธรรมเนียม

คุณสมบัติ / เอกสารที่ใช้สมัคร

คุณสมบัติโครงการที่จะยื่นกู้

  • โครงการต้องมีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการใช้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งชุมชนมีบริการสาธารณะ

คุณสมบัติผู้กู้

  • เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
  • มีประสบการณ์ในดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือ ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มาไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโครงการ
  • มีผลประกอบการและประวัติการเงินที่ดี และมีเงินทุนสำรองส่วนตัวที่สามารถให้ธนาคารตรวจสอบแหล่งที่มาของเงินสมทบได้
  • ทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของวงเงินกู้ และเรียกชำระเต็มมูลค่าหุ้นของทุนจดทะเบียน

เอกสาร

กรณีบุคคลธรรมดา

  • บัตรประจำตัวประชาชน / ทะเบียนบ้าน
  • ทะเบียนสมรส พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรส / ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี) เป็นต้น

กรณีนิติบุคคล

  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท (ไม่เกิน 1 เดือน) / หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2) / รายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
  • เอกสารของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามบริษัท (เอกสารตามกรณีบุคคลธรรมดา)
  • รายงานการประชุม ระบุการขอกู้เงินจากธนาคาร
  • งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี

เอกสารประกอบการยื่นกู้

  • หลักฐานทางการเงิน เช่น บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน / หลักฐานการชำระภาษี เป็นต้น
  • แผนการดำเนินการทั้งโครงการ / แผนการขาย / แผนการก่อสร้าง / ประมาณการด้านการเงิน Financial Feasibility
  • สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง / หนังสือเสนอราคาค่ารับเหมาก่อสร้าง
  • ใบอนุญาตก่อสร้าง
  • ใบขออนุญาตจัดสรร / ใบยื่นคำขออนุญาตจัดสรร
  • แบบแปลนการก่อสร้างอาคาร (ชุดที่ได้รับอนุญาต)
  • โฉนดที่ดิน พร้อมสารบัญจดทะเบียนทุกหน้า

 

สถานที่ยื่นคำขอกู้เงิน

  • กรณีหลักประกันตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ติดต่อสาขาในพื้นที่ หรือฝ่ายสนับสนุนสินเชื่อ สำนักงานใหญ่
  • กรณีหลักประกันตั้งอยู่ต่างจังหวัด ติดต่อสาขาภูมิภาค หรือ Center ภูมิภาค สำนักงานใหญ่

คำถามที่พบบ่อย

1. สอบถามการยื่นขอสินเชื่อพัฒนาโครงการ ผู้ขอกู้มีคุณสมบัติอย่างไร     
- 1. สินเชื่อพัฒนาโครงการ : สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไป   
  1.1 สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์
  ผู้ขอกู้ที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยลักษณะที่อยู่อาศัยระดับราคาขายไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย โดยมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนหน่วยขายทั้งหมดของโครงการ    

  1.2 สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการพันธมิตร
  ผู้ขอกู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลในกลุ่มพันธมิตรของธนาคาร (เป็นผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมโครงการกับธนาคาร) โดยลักษณะที่อยู่อาศัย ระดับราคาขายไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย โดยมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนหน่วยขายทั้งหมดของโครงการ   

  1.3 สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการทั่วไป
  ผู้ขอกู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลทั่วไป โดยลักษณะที่อยู่อาศัย ระดับราคาขายไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย โดยมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหน่วยขายทั้งหมดของโครงการ

  2. สินเชื่อพัฒนาโครงการ (โครงการบ้านล้านหลัง)
  ผู้ขอกู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลทั่วไป  โดยลักษณะที่อยู่อาศัย ระดับราคาขายไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย โดยมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหน่วยขายทั้งหมดของโครงการ

  3. สินเชื่อพัฒนาโครงการ (โครงการสินเชื่อเพื่ออาคารคาร์บอนต่ำ)
  ผู้ขอกู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลทั่วไป โดยลักษณะที่อยู่อาศัย มีข้อกำหนดคุณสมบัติ และข้อกำหนดทางเทคนิคของโครงการ ตามที่ธนาคารกำหนด
  คุณสมบัติของผู้ขอกู้

  • มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือ ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • ผู้มีเงินทุนสำรองส่วนตัวที่สามารถให้ธนาคารตรวจสอบแหล่งที่มาของเงินสมทบได้
  • ทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินกู้ และเรียกชำระเต็มมูลค่าหุ้นของทุนจดทะเบียน

         (ทั้งนี้ ธนาคารไม่รับพิจารณาให้กู้เพื่อจัดสรรที่ดินเปล่าหรือ บ้านพักตากอากาศ)

2. กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมสำหรับสินเชื่อพัฒนาโครงการ ปี 2567     
-  ยื่นคำขอกู้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม - 30 ธันวาคม 2567 
-  ทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 เมษายน 2568

3. ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ และค่าประเมินราคาหลักประกัน ของสินเชื่อพัฒนาโครงการ    
-  ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ ร้อยละ 0.25 ของวงเงินอนุมัติ
-  ค่าประเมินราคาหลักประกัน ครั้งละ 10,000 บาท

หมายเหตุ : กรณียื่นกู้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม - 30 ธันวาคม 2567  ยกเว้น ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ และค่าประเมินราคาหลักประกัน สำหรับผู้ประกอบการโครงการบ้านล้านหลัง และโครงการสินเชื่อเพื่ออาคารคาร์บอนต่ำ (Project Loan For Carbon Reduction Building)  

4. วงเงินกู้สูงสุดของสินเชื่อพัฒนาโครงการ    
- วงเงินกู้รวมไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าที่ดินอาคาร และสาธารณูปโภคตามราคาประเมินของธนาคาร 

5. ระยะเวลากู้สูงสุดของสินเชื่อพัฒนาโครงการ    
- ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี

6. หลักประกันตั้งอยู่ในต่างจังหวัด ยื่นกู้ที่ใด    
- ติดต่อสาขาภูมิภาค หรือสำนักงานใหญ่ งานสินเชื่อ Center ภูมิภาค อาคาร 2 ชั้น 2