ผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปี 2566-2570 และแผนปฏิบัติการ การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปี 2566 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566

ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

ธอส.กำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ จำนวน 3 วัตถุประสงค์ (SMO) โดยมีผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ดังนี้

ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปี 2566

ธอส.กำหนดแผนปฏิบัติการ จำนวน 23 แผนงาน/โครงการ 31 ตัวชี้วัด โดยมีผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ดังนี้

ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธนาคาร ปี 2566
     ผลการสำรวจความพึงพอใจโดยรวมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อ ธอส.

ผลการสำรวจความพึงพอใจพบว่า ในภาพรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีระดับความพึงพอใจโดยรวม ต่อ ธอส. (% Top 2 Box หรือ %T2B) ร้อยละ 97.38

ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นต่างๆ

ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านต่าง ๆ พบว่า ในภาพรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านต่าง ๆ (% Top 2 Box หรือ %T2B) ด้านการสร้างความเป็นธรรม ความโปร่งใส และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) มากที่สุด ร้อยละ 97.853 รองลงมาคือ ด้านการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูล ร้อยละ 97.45 โดยมีรายละเอียดจำแนกตามกลุ่ม ดังนี้

แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การมีส่วนร่วมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement)

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถือเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้ธนาคารได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม การสร้างผลประโยชน์ร่วมกันที่สอดคล้องกับความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ทำให้ธนาคารสามารถบรรลุเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อมากกว่าเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ (ปี 2566 กำหนดเป้าหมายที่ 235,480 ล้านบาท สามารถปล่อยสินเชื่อได้ถึง 253,860 ล้านล้านบาท) ธนาคารจึงได้กำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความต้องการและความคาดหวัง การตอบสนอง รูปแบบการสร้างความสัมพันธ์ สายงานที่รับผิดชอบ ความถี่ ผลผลิต ผลลัพธ์ โดยปี 2566 ธนาคารมีแนวทางการมีส่วนร่วม ผลผลิต และ ผลลัพธ์ มีรายละเอียด ดังนี้