ที่ปรับปรุงและทบทวนตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน ISO 26000

นโยบาย 1 : การพัฒนาแนวทาง การสร้างนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีการพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส (CSR After Process)
แนวทางปฏิบัติ

  1. การสร้างความรับรู้และความเข้าใจใน CSR Model ที่ถูกต้องโดยเฉพาะ CSR after Process เพื่อให้แต่ละหน่วยงานอธิบายความเกี่ยวข้องของตน ใน I AM GHB ได้อย่างถูกต้อง
  2. การกำหนดแนวทางการสนับสนุนชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน
  3. การพัฒนา ปรับปรุง หรือสร้างนวัตกรรม ในการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ในการยกระดับคุณภาพชีวิต
  4. การขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” (ประเด็น 04 วิถีไทยพอเพียง) โดยส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินชีวิต รวมทั้งการสร้างวินัยการออมในทุกกลุ่มช่วงวัย (ด้วยการวิเคราะห์ตนเอง ปรับเปลี่ยนกรอบความคิดหรือ Mindset และปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินชีวิต)

นโยบาย 2 : การพัฒนาบทบาทบุคลากรในองค์กร ให้มีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสนับสนุนชุมชน (CSR In Mind)
แนวทางปฏิบัติ

  1. การพัฒนากระบวนการในการคัดเลือกบุคลากรใหม่ โดยเน้น Outcomes ที่องค์กรจะได้รับ
  2. การปรับปรุงแนวทางการประเมินผล ที่เน้นประสิทธิผลที่จะได้จากบุคลากรแต่ละคนในหลากหลายมิติ เช่น การประเมินผลระบบ Filing หรือ Portfolio of Work เป็นต้นี
  3. การพัฒนาแนวทางการพัฒนา ฝึกอบรมบุคลากร โดยเน้นประสิทธิผลที่เชื่อมโยงและสนับสนุนต่อผลการดำเนินการที่ดีขององค์กร
  4. การพัฒนาบุคลากรในการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือ ในโครงการหรือกิจกรรมด้าน CSR ในทุกระดับ ตั้งแต่คณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหาร และบุคลากร

นโยบาย 3 : การเป็นองค์กรที่ออกแบบ ปรับปรุง หรือนวัตกรรม ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (CSR In Process)
แนวทางปฏิบัติ

  1. การกำหนดยุทธศาสตร์รองรับ CSR ให้มีการนำไปปฏิบัติ โดยเฉพาะในด้าน CSR in Process
  2. การสื่อสารหรือสร้างความรับรู้และความเข้าใจ ในความเกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ของแต่ละหน่วยงาน
  3. การสื่อสารหรือสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในแนวทางและการนำไปปฏิบัติจริงด้านธรรมาภิบาล
  4. การจัดการสภาพแวดล้อม โดยอ้างอิงตามหลักมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ISO 14000 เป็นต้น
  5. การพัฒนา ปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ ที่ตอบสนองต่อ Digital Services โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  6. การวิเคราะห์ผลกระทบของการออกผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นรูปธรรม
  7. การวิเคราะห์ผลกระทบของการออกแบบหรือปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน ที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นรูปธรรม

นโยบาย 4 : การกำหนดแนวทางการดำเนินการ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินการ
ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนชุมชน
แนวทางปฏิบัติ

การกำหนดโครงสร้างหรือกรอบการดำเนินการโครงการหรือกิจกรรม CSR ตั้งแต่การขออนุมัติ แนวทางการดำเนินการโครงการ การติดตามผลการดำเนินการ และการรายงานผลการดำเนินการตามรอบเวลา
การพัฒนาระบบสนับสนุน เพื่อรองรับการติดตามผล และการรายงานผลการดำเนินการโครงการหรือกิจกรรม เช่น การพัฒนาโปรแกรมรองรับการรายงานผลจากหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น