อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคาร
คณะกรรมการธนาคาร มีอำนาจหน้าที่กำกับ ควบคุม และอำนวยกิจการของธนาคาร ตามมาตรา 17 มาตรา 18 และมาตรา 27 และบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 317 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 และพระราชบัญญัติ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2549
- ดำเนินกิจการเพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือสนับสนุนให้ประชาชนมีอาคาร และหรือ ที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งธนาคารอาคารสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์
- วางข้อบังคับการประชุม และการดำเนินกิจการของคณะกรรมการธนาคาร และคณะกรรมการบริหาร
- วางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานของพนักงานธนาคาร
- วางข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคาร
- แต่งตั้งและถอดถอนพนักงานธนาคาร และกำหนดอัตราเงินเดือนผู้จัดการและพนักงานธนาคาร ตลอดจนเรียกประกันจากพนักงานธนาคาร เพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต
- ดำเนินตามนโยบายทั่วไปซึ่งรัฐมนตรีกำหนด
คณะกรรมการธนาคารได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและกลั่นกรองงาน ที่มีความสำคัญและงานที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 มีคณะกรรมการชุดย่อย 9 คณะ ได้แก่
- คณะกรรมการบริหาร
- คณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
- คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
- คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์
- คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CG & CSR)
- คณะกรรมการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายทางด้าน IT (IT Strategy and Policy Committee)
- คณะกรรมการกลั่นกรองกฎหมาย
- คณะกรรมการอุทธรณ์
คณะกรรมการบริหาร
มีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการธนาคารกำหนด เพื่อการดำเนินกิจการของธนาคาร โดยให้รวมถึง
- พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เป็นนโยบายก่อนนำเสนอคณะกรรมการธนาคาร
- เสนอนโยบายเกี่ยวกับการบริหารงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์
- พิจารณาและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่การบริหารงานธนาคาร ตามที่ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการธนาคาร
- พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการธนาคารกำหนด
คณะกรรมการตรวจสอบ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กำหนดในกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ ดังนี้
- จัดทำกฎบัตรว่าด้วยการตรวจสอบภายในของคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงานของธนาคาร โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคาร และมีการสอบทานความเหมาะสมของกฎบัตรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- สอบทานประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกระบวนการควบคุมภายใน กระบวนการกำกับดูแลที่ดี และกระบวนการบริหารความเสี่ยง
- สอบทานให้ธนาคารมีการรายงานทางการเงินที่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ มีความถูกต้อง และน่าเชื่อถือ
- สอบทานการดำเนินงานของธนาคารให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วิธีปฏิบัติงาน มติคณะรัฐมนตรี ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธนาคาร
- สอบทานให้ธนาคารมีระบบการตรวจสอบภายในที่ดี และพิจารณาความเป็นอิสระของ หน่วยตรวจสอบภายใน
- พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีโอกาส เกิดการทุจริตที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของธนาคาร และการเปิดเผยข้อมูลของธนาคาร โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Servoce Account) ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
- เสนอข้อแนะนำต่อคณะกรรมการธนาคารในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และประเมินผลงานของหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน
- ประสานงานเกี่ยวกับผลการตรวจสอบกับผู้สอบบัญชีธนาคาร และอาจเสนอแนะให้สอบทานหรือ ตรวจสอบรายการใดที่เห็นว่าจำเป็น รวมถึงเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีธนาคาร ต่อคณะกรรมการธนาคาร
- รายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในของคณะกรรมการตรวจสอบ
ต่อคณะกรรมการธนาคารอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นสุดในแต่ละไตรมาส
ยกเว้น รายงานผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 ให้จัดทำเป็นรายงานผลการดำเนินงานประจำปี พร้อมทั้งส่งรายงานดังกล่าวให้กระทรวงการคลังเพื่อทราบภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี
การเงินของธนาคาร
ทั้งนี้ รายงานผลการดำเนินงานฯ อย่างน้อยต้องระบุถึงข้อมูลดังนี้
(1) ความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงิน
(2) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน
(3) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วิธีปฏิบัติงาน มติคณะรัฐมนตรี ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธนาคาร - ประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในของคณะกรรมการตรวจสอบ อย่างน้อย ปีบัญชีการเงินละ 1 ครั้ง รวมทั้งรายงานผลการประเมิน ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนแผนการปรับปรุงการดำเนินงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบ
- เปิดเผยรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของคณะกรรมการตรวจสอบ และค่าตอบแทน ของผู้สอบบัญชีธนาคารในรายงานประจำปีของธนาคาร
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือคณะกรรมการธนาคารมอบหมาย ทั้งนี้ ต้องอยู่ในขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
ในการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบดังกล่าว คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบ ต่อคณะกรรมการธนาคารโดยตรง
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในกฎบัตรของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
- กำหนดนโยบายเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการธนาคารพิจารณาในเรื่องการบริหารความเสี่ยงโดยรวม ซึ่งต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์และความเสี่ยง ที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของธนาคาร เป็นต้น
- กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับกลยุทธ์โดยให้ครอบคลุมถึงการประเมิน ติดตาม และดูแลปริมาณความเสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ทบทวนความเพียงพอของนโยบายและกระบวนการบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงความมีประสิทธิผลของกระบวนการและการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด
- รายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอในสิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่กำหนด
- มีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบ รวมถึงมีอำนาจ ในการเข้าถึงข้อมูลของธนาคารที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและเสนอแนะต่อคณะกรรมการธนาคาร ตามที่กำหนดในกฎบัตรของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ดังนี้
- กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหา เพื่อประกอบการบรรจุ แต่งตั้ง และเลื่อนตำแหน่ง การจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น ตั้งแต่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย/สำนัก หรือเทียบเท่าขึ้นไป ถึงรองกรรมการผู้จัดการหรือเทียบเท่า รวมถึงค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นที่ให้แก่กรรมการ ในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ โดยต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนโปร่งใส เพื่อเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ
- คัดเลือก และเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(1) กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ จากคณะกรรมการธนาคาร
(2) ผู้บริหารตั้งแต่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย/สำนัก หรือเทียบเท่าขึ้นไป ถึงรองกรรมการผู้จัดการ หรือเทียบเท่า - ดูแลให้กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ และผู้บริหาร ตั้งแต่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย/สำนัก หรือเทียบเท่าขึ้นไป ถึงรองกรรมการผู้จัดการหรือเทียบเท่า ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และ ความรับผิดชอบ โดยกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ควรได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายนั้น
- เปิดเผยนโยบายและรายละเอียดของกระบวนการสรรหา และการกำหนดค่าตอบแทนและเปิดเผยค่าตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำรายงานการกำหนดค่าตอบแทน โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมาย การดำเนินงาน และความเห็นของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนไว้ในรายงานประจำปีของธนาคาร
- กำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ และผู้บริหารตั้งแต่ตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ถึงกรรมการผู้จัดการเพื่อพิจารณาปรับผลตอบแทนประจำปี โดยจะต้องคำนึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นของกรรมการผู้จัดการ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการธนาคาร ให้ความเห็นชอบ
- การอื่นใดที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
สำหรับคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนอาจขอความเห็นทางวิชาชีพจากที่ปรึกษาภายนอกได้
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CG&CSR)
มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กำหนดในกฎบัตรของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CG&CSR) ดังนี้
- เสนอแนวนโยบายต่อคณะกรรมการธนาคาร เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี และแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของธนาคาร
- พิจารณาทบทวนการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และจัดทำ ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการธนาคาร
- ส่งเสริมให้คณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหาร และพนักงาน มีส่วนร่วมในการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งส่งเสริมให้คณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหาร พนักงาน ชุมชน ลูกค้า และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของธนาคาร
- ส่งเสริมให้มีกิจกรรมด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) ที่มีกรรมการธนาคารเข้าร่วมอย่างเป็นทางการอย่างสม่ำเสมอทุกไตรมาส
- กำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CG&CSR) เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด
- ให้ข้อเสนอแนะในการกำกับดูแลการปฏิบัติและการดำเนินการของธนาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายตามแผนการดำเนินงาน ด้าน CG&CSR ประจำปี
- พิจารณาและให้ความเห็นชอบกลยุทธ์ เป้าหมาย และแผนแม่บท ซึ่งประกอบด้วย แผนงาน โครงการ งบประมาณ และตัวชี้วัดการดำเนินงาน การกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CG&CSR) ประจำปี ให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของธนาคาร
- ปฏิบัติงานด้าน CG&CSR อื่นใด ที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
- พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CG&CSR) ได้ตามความเหมาะสม
- รายงานผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CG&CSR) ต่อคณะกรรมการธนาคารอย่างสม่ำเสมอและให้ข้อเสนอตามความเหมาะสม
คณะกรรมการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายทางด้าน IT (IT Strategy and Policy Committee)
มีอำนาจหน้าที่ตามคำสั่งคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ 16/2560 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2560 ดังนี้
- กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย และเป้าหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคาร ให้สอดคล้อง เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของธนาคาร
- กำหนดแผนกลยุทธ์การใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคาร
- กำหนดแนวทางและขอบเขตในการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ
- ควบคุม กำกับ ดูแล ทบทวน และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคาร
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
- งานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์
มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 19 และตามคำสั่งคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ 26/2560 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2560 ดังนี้
- พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาการแรงงานสัมพันธ์หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในรัฐวิสาหกิจนั้น
- พิจารณาปรับปรุงระเบียบข้อบังคับในการทำงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง ลูกจ้าง และ รัฐวิสาหกิจนั้น
- ปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาตามคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน รวมถึงการร้องทุกข์ ที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัย
- ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้าง
คณะกรรมการกลั่นกรองกฎหมาย
มีอำนาจหน้าที่ตามคำสั่งคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ 27/2559 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ดังนี้
- ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และพิจารณากลั่นกรองกฎหมาย ร่างข้อบังคับ ร่างระเบียบ ร่างสัญญา รวมทั้งพิจารณาและวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายและข้อสัญญาที่สำคัญแก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์มอบหมาย หรือที่กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ร้องขอในเรื่องที่เห็นว่ามีความสำคัญ
- ขอข้อมูลและคำชี้แจงจากหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
- งานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
คณะกรรมการอุทธรณ์
มีอำนาจหน้าที่ตามคำสั่งคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ 18/2560 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2560 และคำสั่งคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ 27/2560 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560 ดังนี้
- พิจารณาอุทธรณ์การถูกลงโทษทางวินัยเฉพาะกรณีคำสั่งลงโทษ
- ดำเนินการพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยให้เป็นไปตามข้อบังคับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฉบับที่ 17 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติของพนักงานธนาคาร ว่าด้วย วินัย การสอบสวน การลงโทษพนักงานและลูกจ้าง การอุทธรณ์การถูกลงโทษของพนักงานและลูกจ้าง พ.ศ. 2520 ข้อ 16
- รายงานและเสนอความเห็นการพิจารณาอุทธรณ์ให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาสั่งการต่อไป